หมายถึง อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 23 เมตร หรือไม่เกิน 9 ชั้น การออกแบบระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับลักษณะนี้จะต้องมีระบบตัวนำล่อฟ้า ระบบตัวนำลงดิน และระบบรากสายดิน เหมือนอาคารทั่วไป แต่ที่ต้องคำนึงถึงเป็นพิเศษ คือ การเลือกใช้ตัวนำและวิธีการติดตั้ง เพื่อความสวยงาม และการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้คนที่อยู่อาศัย อันเนื่องมาจากแรงดันสัมผัส
ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย และลดผลกระทบขณะเกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่า
การออกแบบและติดตั้ง ระบบป้องกัน
ฟ้าผ่าสำหรับ Low Rise Building
การออกแบบระบบป้องกันฟ้าผ่าภายนอกอาคารโดยทั่วไป เช่น ระบบตัวนำล่อฟ้า ระบบตัวนำลงดิน ระบบรากสายดิน เพื่อป้องกันอันตรายและความเสียหายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับอาคาร อาจจะยังไม่เพียงพอกับอาคารสมัยใหม่ ที่ในปัจจุบันมีลักษณะเป็น Smart Building ซึ่งประกอบไปด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลาย สำหรับขับเคลื่อนระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ภายในอาคาร รวมไปถึง จำเป็นต้องมีการออกแบบการป้องกันฟ้าผ่าภายใน เพื่อป้องกันผลกระทบจากอิมพัลส์แม่เหล็กฟ้าผ่า (LEMP: Lightning Electromagnetic Impulse) อีกด้วย เช่น Grounding and Bonding Network, Shielding, การป้องกันเสิร์จ เป็นต้น
ดังนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิผลที่ดีในการป้องกันฟ้าผ่าทั้งภายนอกและภายใน
ออกแบบติดตั้งโดยใช้สายตัวนำชนิด Hot-Dip Galvanized Steel Rounded Conductor เป็นตัวนำลงดินหลักที่ติดเพิ่มเข้าไปกับเหล็กโครงสร้างคอนกรีต เพื่อการป้องกันฟ้าผ่าและทำหน้าที่เป็นตัวป้องกัน (Shielding) ที่ดีของอาคารซึ่งช่วยลดผลกระทบจากการเหนี่ยวนำหรือการรบกวนที่เกิดจากอิมพัลส์แม่เหล็กฟ้าผ่า และการออกแบบโดยใช้ฐานรากของอาคารเป็นรากสายดิน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและมีความคงทนถาวร
สำหรับอาคารสูงที่มีความสูงมากกว่า 60 เมตรขึ้นไป ตามมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า วสท. และมาตรฐาน IEC 62305-3 ได้ระบุว่ามีโอกาสที่จะได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่าด้านข้างของอาคารได้ จึงจำเป็นต้องมีการออกแบบและติดตั้งตัวนำล่อฟ้าที่มีความเหมาะสมในการรับฟ้าผ่าด้วย
สำหรับการป้องกันฟ้าผ่าด้านข้างของอาคารนั้นสามารถทำได้ 2 วิธี
1. การติดตั้งโดยใช้ Strike Pad เพื่อรับฟ้าผ่า
2. การใช้วัสดุปิดผิวอาคารประเภทโลหะ เป็นตัวรับฟ้าผ่าโดยธรรมชาติ เช่น อะลูมิเนียมแคลดดิ้ง (Aluminium Cladding),
ฟาซาด (Façade), เฟรมเหล็กยึดกระจก (Steel Frame) เป็นต้น
การติดตั้งโดยใช้ Strike Pad เพื่อรับฟ้าผ่า (ซ้าย)
และการใช้ส่วนโลหะปิดอาคารเพื่อรับฟ้าผ่า (ขวา)
1. ไม่มีความเสี่ยงต่อการโดนขโมยเหมือนทองแดง
2. มีสีที่แตกต่างจากเหล็ก Rebar ทำให้ตรวจสอบได้ง่าย
3. ราคาประหยัดคุ้มค่าเมื่อเทียบกับวัสดุอื่น
4. ผ่านการทดสอบคุณสมบัติตามมาตรฐาน IEC 62561-2
รากสายดินฐานรากที่ใช้ Footing หรือเสาเข็ม ร่วมกับการใช้คานคอดิน
รากสายดินฐานรากที่ใช้พื้นชั้นล่างสุด (Mat Foundation) ของอาคาร
อาคารมรดกทางวัฒนธรรม รวมไปถึงสถาปัตยกรรมต่าง ๆ เช่น วัด โบสถ์ เจดีย์ วิหาร ศาสนสถาน เป็นต้น ต่างมีคุณค่าที่สะท้อนวัฒนธรรมและเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของผู้คนในแต่ละยุคสมัย อีกทั้งยังเป็นอาคารใช้งานสาธารณะ มีความจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัย ทั้งต่ออาคารสถานและชีวิตของผู้คนโดยรอบ ซึ่งหากได้รับความเสียหายจะสูญเสียเป็นมูลค่ามหาศาล ดังนั้น ในการออกแบบและการติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับสิ่งปลูกสร้างประเภทนี้ นอกจากต้องคำนึงถึงการสร้างความปลอดภัยแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญด้านความสวยงามกลมกลืนกับรูปแบบของสถาปัตยกรรมอีกด้วย
ได้พัฒนาโซลูชันต่าง ๆ ในการดูแลและรักษาอาคารมรดกทางวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม เพื่อส่งมอบระบบความมั่นคงและปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงสุดตามมาตรฐานสากล พร้อมทั้งรักษามรดกทางวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าให้อยู่อย่างยั่งยืน
การใช้ตัวนำชนิดกลมตันเป็นตัวนำล่อฟ้าเพื่อความสวยงาม
การใช้สายตัวนำลงดินหุ้มฉนวน (KIC Cable)
การติดตั้งรากสายดินวงแหวนสำหรับป้องกันอันตรายจากแรงดันช่วงก้าว (Step Voltage)
• เนื่องจากสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารสาธารณะที่มักมีผู้คนจำนวนมากมารวมตัวกันในการประกอบกิจกรรมต่างๆ การออกแบบระบบรากสายดินสำหรับสิ่งปลูกสร้างประเภทนี้จะต้องมีการควบคุมศักย์ไฟฟ้าเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันอันตรายจากแรงดันช่วงก้าว (Step Voltage)
• มาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า (วสท.) แนะนำให้ติดตั้งรากสายดินในลักษณะเป็นวงแหวนล้อมรอบสิ่งปลูกสร้างจำนวน 4 วงแหวน