ปัจจุบันโรงงานหรือสถานประกอบการอุตสาหกรรมหลายแห่งมีการติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าแบบ Non-conventional system ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงแรงงานได้ประกาศไว้รวมถึงยังไม่เป็นที่ยอมรับในหลาย ๆ มาตรฐานระดับนานาชาติ โดยระบบป้องกันฟ้าผ่าแบบนี้ใช้แนวคิดในการออกแบบที่แตกต่างจากระบบป้องกันฟ้าผ่าแบบดั้งเดิม (Conventional system) จึงอาจทำให้การป้องกันไม่ครอบคลุมในทุกบริเวณที่ต้องการป้องกันและหากเกิดฟ้าผ่าขึ้นมีโอกาสที่อาคารจะได้รับความเสียหายทางกายภาพรวมถึงทำให้ระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายในอาคารล้มเหลวจากการเหนี่ยวนำของอิมพัลส์แม่เหล็กไฟฟ้า ดังนั้นเพื่อป้องกันความเสียหายจากภัยฟ้าผ่า
การป้องกันอันตรายที่เกิดจากฟ้าผ่า
และการป้องกันเสิร์จสำหรับโรงงาน
การติดตั้งระบบตัวนำล่อฟ้า
การติดตั้งระบบตัวนำลงดินแบบยึดเกาะกับผนังด้านนอกอาคาร
การติดตั้งระบบรากสายดินในลักษณะเป็นวงแหวนรอบอาคาร
• ออกแบบตามมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่าของ วสท. (EIT Standard) หรือมาตรฐาน IEC 62305 (Protection Against Lightning) ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงแรงงานได้ประกาศไว้
• ระบบตัวนำล่อฟ้า (Air-termination system) ออกแบบโดยใช้ตัวนำ หรือโลหะที่สามารถนำไฟฟ้าได้ดีไปติดตั้งในบริเวณที่มีโอกาสจะได้รับอันตรายจากฟ้าผ่าซึ่งจะต้องมีการคำนวณตามมาตรฐาน โดยต้องติดตั้งตัวนำให้ครอบคลุมในทุกบริเวณที่ต้องการป้องกันและเลือกใช้วัสดุตัวนำให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
• ระบบตัวนำลงดิน (Down conductor system) มีจำนวนหลายเส้นและจัดวางกระจายตามเส้นรอบรูปของอาคาร โดยการติดตั้งต้องมีความต่อเนื่องและความยาวของเส้นทางกระแสสั้นที่สุด
• ระบบรากสายดิน (Grounding system) ควรมีการจัดวางในลักษณะเป็นวงแหวนรอบอาคารเพื่อเป็นการประสานให้ศักย์ไฟฟ้าเท่ากันระหว่างตัวนำลงดินทั้งหลายที่ระดับดินและกรณีมีการต่อลงดินของระบบอื่น ๆ เช่น ระบบไฟฟ้า ให้ทำการประสานศักย์ (Bonding) การต่อลงดินของระบบเหล่านั้นเข้ากับรากสายดินของระบบป้องกันฟ้าผ่า เพื่อจำกัดแรงดันที่แตกต่างกันระหว่างระบบหลักดิน
• ถ้าบนอาคารมีระบบป้องกันฟ้าผ่าติดตั้งอยู่แล้ว ระบบป้องกันฟ้าผ่าของระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ควรจะรวมเข้ากับระบบป้องกันผ่าฟ้าอย่างเหมาะสมตามมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า วสท. หรือ IEC
• กรณียอมให้โครงสร้างแผง PV Module เป็นตัวนำล่อฟ้าโดยธรรมชาติได้ (มีโอกาสถูกฟ้าผ่าตรง) ให้ทำการประสานศักย์ (Bonding) ส่วนโลหะของแผง PV Module เข้ากับระบบตัวนำล่อฟ้าเดิมเพื่อต่อประสานให้ศักย์เท่ากันด้วยสายทองแดงขนาดพื้นที่หน้าตัด 16 ตร.มม. หรืออลูมิเนียมขนาดพื้นที่หน้าตัด 25ตร.มม.
• กรณีไม่ต้องการให้แผง PV Module รับฟ้าผ่าตรงหรือเป็นตัวนำ ล่อฟ้าโดยธรรมชาติจะต้องติดตั้งแท่งล่อฟ้า (Air terminal) ให้สูงกว่าแผงและให้พื้นที่ป้องกันของแท่งล่อฟ้าครอบคลุมโครงสร้างทั้งหมดของแผง โดยในการติดตั้งแนะนำให้ใช้สายตัวนำสแตนเลสกลมตันขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 10 มม. ดัดขึ้นเป็นตัวรับฟ้าผ่า เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการกัดกร่อนกับวัสดุตัวนำล่อฟ้าเดิม (ตัวนำ สแตนเลส เชื่อมต่อกับตัวนำทองแดงและตัวนำอะลูมิเนียมได้)
To use 10 mm. diameter solid stainless-steel conductors
as Air terminal to prevent PV Module from direct lightning strike
• การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ (SPD) สำหรับป้องกันแรงดันเกินที่เกิดจากฟ้าผ่าและจากการสวิตชิ่งทางไฟฟ้าเพื่อป้องกันความเสียหายต่ออุปกรณ์ในระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะการติดตั้งของแผง PV Module
• ระบบติดตั้งแผง PV Module ที่ไม่มีระบบป้องกันฟ้าผ่าภายนอก
• ระบบติดตั้งแผง PV Module ที่มีระบบป้องกันฟ้าผ่าภายนอกและสามารถเว้นระยะแยก (S) ระหว่างตัวนำล่อฟ้ากับแผง PV Module ได้
• ระบบติดตั้งแผง PV Module ที่มีระบบป้องกันฟ้าผ่าภายนอก แต่ไม่สามารถเว้นระยะแยก (S) ระหว่างตัวนำล่อฟ้ากับแผง PV Module ได้