Telecommunication

โทรคมนาคม

Total Solution Data Center

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล กิจวัตรประจำวันของผู้คนส่วนใหญ่ผูกโยงกับเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารผ่านระบบดิจิทัล ทำให้เกิดการบริโภคข้อมูลจำนวนมหาศาลและความต้องการใช้งานข้อมูลดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้น โดยระบบการสื่อสารที่มีการใช้ปริมาณข้อมูลจำนวนมากนั้นจำเป็นต้องมีศูนย์ข้อมูล (Data Center) เป็นส่วนสำคัญของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information Technology and Communication ICT) เพื่อเป็นศุนย์กลางในการประมวลผลข้อมูล (data processing), การเก็บรักษาข้อมูล (storage) และการสื่อสารข้อมูล (communications) ซึ่งศูนย์ข้อมูลนั้นจะต้องถูกออกแบบให้มีความสามารถในการรองรับและตอบสนองการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างต่อเนื่อง มีเสถียรภาพและมีความปลอดภัยสูงสุด

Kumwell ส่งมอบโซลูชั่น

ระบบต่อลงดิน ระบบป้องกันฟ้าผ่า และระบบป้องกันเสิร์จสำหรับศูนย์ข้อมูล (Data Center) เพื่อป้องกันความเสียหายทางกายภาพต่อโครงสร้างในระบบโทรคมนาคม

การต่อลงดินและการป้องกันฟ้าผ่า

  • การป้องกันฟ้าผ่าตามมาตรฐานดาตาเซนเตอร์สำหรับประเทศไทย (วสท.) ต้องออกแบบติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าที่ให้ผลดีที่สุด และต้องติดตั้งระบบป้องกันเสิร์จให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย โดยระบบป้องกันฟ้าผ่าและระบบป้องกันเสิร์จต้องเป็นไปตามมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า วสท.

ตัวอย่างรูปแบบการต่อลงดิน

(อ้างอิงจากมาตรฐานดาตาเซนเตอร์สำหรับประเทศไทย วสท.)

  • อาคารที่มีการติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าหรือมีการจ่ายไฟฟ้าเข้าหลายจุดจะต้องฝังวงแหวนการต่อลงดินสำหรับการเชื่อมต่อหลักดินไว้รอบอาคาร
  • อาคารสร้างใหม่สำหรับดาตาเตอร์โดยเฉพาะ ตัวนำของ วงแหวนการต่อลงดิน (Ground Ring) ต้องเป็นสายทองแดงเปลือยขนาดไม่ต่ำกว่า 120 ตารางมิลลิเมตร ฝังดินลึกไม่น้อยกว่า 0.8 เมตร และให้ต่อเชื่อมเข้ากับหลักดิน (Copper Bonded Steel Ground Rod) ขนาดไม่ต่ำกว่า 14.2 มิลลิเมตร ยาว 3 เมตร ที่ติดตั้งเพิ่มตามแนวของวงแหวนโดยรอบทุกระยะ 6-12 เมตร พร้อมทั้งติดตั้งบ่อทดสอบ 4 มุม
  • บริภัณฑ์การประสานและการต่อลงดินสำหรับโครงสร้างพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคมต้องมีรูปการต่อลงดินตามรูป

การติดตั้งตาข่ายประสานเสริม

Signal Reference Ground Grid (SRG)

  • มาตรฐานดาตาเซนเตอร์สำหรับประเทศไทย (วสท.) ได้กำหนดให้มีการติดตั้งวงจรตาข่ายประสาน (Mesh Bonding Network) สำหรับเชื่อมต่อสายดินของตู้บริภัณฑ์ โครงสร้างแรค รางเดินสายไฟฟ้าหรือสายเคเบิล เป็นต้น เพื่อสร้างจุดอ้างอิงดินให้มีค่าอิมพิแดนซ์ที่ต่ำ ลดสัญญาณรบกวนและป้องกันความเสียหายกับวงจรสัญญาณที่เชื่อมโยงกัน
  • วงจรตาข่ายประสานประกอบด้วยตาข่ายประสานเสริม (Supplementary Bonding Grid) เช่น ตาข่ายตัวนำทองแดงติดตั้งที่ศูนย์กลางห้องคอมพิวเตอร์ โดยมีระยะห่างที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 600 มิลลิเมตร ถึง 1.2 เมตร และถ้าต้องการให้ตาข่ายการประสานลดสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าที่จุดประสานร่วมได้ดีนั้น ควรลดระยะห่างระหว่างตัวนำให้ใกล้ที่สุดคือ 600 มิลลิเมตร
  • เพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้งและช่วยลดสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าให้ดีขึ้น ตาข่ายประสานเสริมแนะนำให้ใช้ตาข่ายสำเร็จรูปชนิดแผ่นตัวนำทองแดงแบน กว้าง 50 มิลลิเมตร หนา 0.5 มิลลิเมตร ที่มีระยะห่างระหว่างตัวนำ 600 มิลลิเมตร (Signal Reference Ground Grid) ซึ่งมีขนาดเป็นไปตามมาตรฐาน
  • ในการติดตั้งตาข่ายประสานเสริมชนิดแผ่นตัวนำทองแดงแบนจะต้องทำการประสานกับฐานเสาของพื้นยก (Raised Floor) ทุก ๆ ต้นที่ 6

การติดตั้งบัสบาร์ต่อลงดินสำหรับระบบโทรคมนาคม Telecommunication Ground Bar

  • เครื่องห่อหุ้ม ช่องเดินสาย และส่วนที่เป็นโครงโลหะทั้งหลายในห้องคอมพิวเตอร์ รวมถึงวัสดุครุภัณฑ์โลหะใด ๆ ต้องมีการต่อลงดิน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการติดตั้ง Telecommunication Ground Bar ที่มีการต่อลงดินไว้สำหรับเป็นจุดเชื่อม (Bonding) อุปกรณ์ต่าง ๆ
  • Telecommunication Ground Bar เป็นบัสบาร์ที่ผลิตจากทองแดงบริสุทธิ์ 99.9 % และผ่านการทดสอบคุณสมบัติตามมาตรฐาน IEC 62561-1 อีกทั้งมีลักษณะเป็นรูสไลด์จึงสามารถใช้ได้กับทั้งหางปลา (Cable Lug) แบบรูเดียวและแบบสองรู

การป้องกันความเสียหายจากเสิร์จที่เข้ามาในระบบด้วยการติดตั้ง Surge Protective Devices (SPD)

  • มาตรฐานดาตาเซนเตอร์สำหรับประเทศไทย (วสท.) ได้กำหนดให้มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จสำหรับระบบไฟฟ้ากระแสสลับและระบบโทรคมนาคมที่ตำแหน่งต่าง ๆ เช่น ทางเข้าของสาธารณูปโภค, บัสของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า, ตู้แผงสวิตช์จ่ายไฟฟ้าหลักและแผงจ่ายไฟฟ้าย่อย, แผงรวมช่องสัญญาณ (Channel Banks) ที่โยงมาจากห้องหรือพื้นที่ติดตั้งบริภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นต้น
  • Kumwell SPD ให้การป้องกันครอบคลุมทั้ง AC Power Supply, DC Power Supply, Transmitter Unit, Data/Signal Line
  • ผ่านการทดสอบคุณสมบัติตามมาตรฐาน IEC 61643 (Low-Voltage Surge Protective Devices)

Total Solution สำหรับสถานีสื่อสาร

ปัจจุบันโลกกำลังเข้าสู่ยุคดิจิทัลซึ่งเน้นการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี เป็นยุคแห่งการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารผ่านระบบดิจิทัล ทำให้ภาคโทรคมนาคมต้องมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ทั้งภาคการติดต่อสื่อสารที่พัฒนามาเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลไร้สายอย่างเทคโนโลยีเครือข่าย 4G/5G และเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง WiMax รวมถึงภาคสื่อสารมวลชนที่พัฒนามาเป็นระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ซึ่งมีการติดตั้งสถานีฐานจำนวนมากเพื่อขยายพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณให้กว้างขวางขึ้น

จึงเห็นได้ว่า ภาคโทรคมมนาคมเป็นส่วนที่มีความสำคัญในทุกมิติของสังคม โดยเฉพาะภาคเศรษฐกิจที่นำมาใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร ตลอดจนสร้างสรรค์เป็นบริการต่างๆ ที่ ต้องมีการทำงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพประสิทธิผล

Kumwell ส่งมอบโซลูชั่น

ระบบต่อลงดินและป้องกันฟ้าผ่าสำหรับสถานีสื่อสารเพื่อป้องกันความเสียหายทางกายภาพต่อโครงสร้างในระบบโทรคมนาคมและส่งมอบ "ระบบการจัดการป้องกันฟ้าผ่าอัจฉริยะ เพื่อเป็นโซลูชันการบำรุงรักษาเชิงรุกแบบดิจิทัลสำหรับสถานีวิทยุระบบควบคุมระยะไกล (Unmanned Remote Cell Site) เพื่อให้ทำงานโดยปราศจากข้อบกพร่องและต่อเนื่อง

การออกแบบระบบรากสายดินโดยคำนึงถึงความยาวประสิทธิผล

  • ระบบต่อลงดินและโครงข่ายการประสานศักย์ (Grounding System & Bonding Network) สำหรับสถานีสื่อสารจะต้องมีการออกแบบตามมาตรฐาน ITU-T K.112 (Lightning Protection, Earthing and Bonding : Practical Procedures for Radio Base Stations) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสิทธิผลที่ดีของการป้องกันฟ้าผ่า และความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (EMC) ของอุปกรณ์ทั้งหมด
  • โครงข่ายการต่อลงดินควรทำให้เป็นรูปแบบวงแหวน (Ring loop) โดยรอบเสาสื่อสาร (Tower) ห้องอุปกรณ์สื่อสาร (Equipment room) และ รั้ว (Fence) เป็นระบบรากสายดินเดียวโครงสร้างรวมที่มีค่าความต้านทานดินต่ำกว่า ๑๐ โอห์ม เพื่อการกระจายกระแสฟ้าผ่าที่มีลักษณะความถี่สูงลงสู่ดิน
  • ทั้งนี้ค่าความต้านทานดินที่ต่ำไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด เกณฑ์ที่สำคัญที่สุดคือรูปร่างและมิติของรากสายดิน ซึ่งการกระจายกระแสฟ้าผ่าที่ดีทำได้โดยการลดค่าอิมพีแดนซ์ ดังนั้นระบบรากสายดินจำเป็นต้องมีการออกแบบโดยคำนึงถึงความยาวรากสายดินประสิทธิผล (Effective Length) เป็นหลัก
  • เนื่องจากสถานีสื่อสารส่วนใหญ่จะตั้งอยู่บริเวณเชิงเขา ซึ่งจะมีค่าความต้านทานจำเพาะของดินสูง ดังนั้น เพื่อประสิทธิผลที่ดีของระบบรากสายดิน จึงควรใช้สารปรับปรุงค่าความต้านทานดิน (MEG) หุ้มสายตัวนำหรือแท่งหลักดินเพื่อช่วยลดค่า Ground Impedance ด้วย

การป้องกันฟ้าผ่าสำหรับสถานีสื่อสาร

  • โครงสร้างทั้งหมดที่อยู่ภายในสถานีสื่อสาร รวมถึงห้องติดตั้งอุปกรณ์สื่อสาร (Equipment room) สายอากาศ (Antenna) สายนำสัญญาณ (Feeders) และระบบจ่ายกำลังไฟฟ้า (Power distribution) ต้องอยู่ภายใต้พื้นที่ป้องกันของระบบตัวนำล่อฟ้า (Air termination system)
  • เสาสื่อสารที่เป็นโลหะ (Metallic Tower) ให้ติดตั้งตัวนำล่อฟ้า
    
    (Air terminal) หรือเสาล่อฟ้า (Lightning pole) บนยอดสุดของเสาสื่อสาร
  • ตัวนำล่อฟ้าสำหรับเสาสื่อสารที่เป็นโลหะ (Metallic Tower) ที่มีระยะแยกไม่เพียงพอระหว่างตัวนำล่อฟ้าและสายอากาศ ให้ติดตั้งสายตัวนำลงดินหุ้มฉนวนสำหรับระบบป้องกันฟ้าผ่าแบบแยกอิสระ (Insulating down conductor for isolated LPS) ซึ่งผลิตมาเพื่อควบคุมระยะแยกและป้องกันความเสียหายบริเวณที่มีความเสี่ยงจากการแฟลชและเหนี่ยวนำจากกระแสฟ้าผ่า โดยให้ใช้สายตัวนำลงดินหุ้มฉนวนนี้ตลอดแนวที่ติดตั้ง Antenna เพื่อชดเชยระยะแยก
  • Kumwell KHV Cable สายตัวนำลงดินชนิดหุ้มฉนวนพิเศษ ผ่านการทดสอบการทนต่อแรงดันอิมพัลส์ฟ้าผ่าของฉนวนตามมาตรฐาน IEC 62561-8 (Requirements for Components for Isolated LPS) สามารถป้องกันแรงดันฟ้าผ่าและชดเชยระยะแยก S ในอากาศได้ 0.5 เมตร

การป้องกันฟ้าผ่าด้านข้างแก่อุปกรณ์ Side-Mounted Antenna

  • ชุดสายอากาศที่ติดตั้งบริเวณด้านข้างของเสาสัญญาณ (Side-Mounted Antenna) ในตำแหน่งที่สูงกว่า 60 เมตรขึ้นไป มีโอกาสที่จะถูกฟ้าผ่าด้านข้างได้
  • เพื่อป้องกันความเสียหายจากฟ้าผ่า จำเป็นต้องติดตั้งเสาล่อฟ้าหรือแท่งตัวนำล่อฟ้า (Air-termination rods) ในรูปแบบแนวนอนที่ตำแหน่งด้านบนและด้านล่างของชุดสายอากาศ

การป้องกันความเสียหายจากแรงดันไฟฟ้าเกินที่เกิดจากเสิร์จฟ้าผ่าและสวิตชิ่งเสิร์จด้วย Surge Protective Devices (SPD)

  • Kumwell SPD ให้การป้องกันครอบคลุมทั้ง AC Power Supply, DC Power Supply, Transmitter Unit, Data/Signal Line
  • ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน IEC 61643 (Low-Voltage Surge Protective Devices)
  • Kumwell SPD Monitoring Unit เป็นอุปกรณ์ที่สามารถรีโมทสถานะการทำงานของ SPD และ Fuse ได้ว่ายังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อยู่หรือไม่ (OK/Failed) โดยจะแจ้งเตือนในทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จตัวใดตัวหนึ่งเสีย เพื่อให้วางแผนในการซ่อมบำรุงได้ง่าย

การบริหารจัดการระบบป้องกันฟ้าผ่าระบบต่อลงดิน และระบบป้องกันเสิร์จ ด้วยนวัตกรรมอัจฉริยะ Smart Lightning

  • นวัตกรรมอัจฉริยะที่สามารถมอนิเตอร์สถานะการทํางานโดยรวมของระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบต่อลงดิน ระบบป้องกันเสิร์จ
  • สามารถแจ้งเตือนภัยคุกคามจากฟ้าผ่าและสนามแม่เหล็กไฟฟ้าต่าง ๆ อย่างทันท่วงที
  • เหมาะสำหรับ Unmanned Remote Cell Site เพื่อใช้ในการบริหารจัดการระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบต่อลงดิน และระบบป้องกันเสิร์จ ให้มีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว and นโยบายคุกกี้
Compare product
0/4
Remove all
Compare