Transportation

การขนส่ง

ท่าอากาศยานหรือสนามบิน

ท่าอากาศยานหรือสนามบิน เป็นช่องทางในการคมนาคมและขนส่งทางอากาศ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ที่ส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ เช่น การบริการ การท่องเที่ยว และโลจิสติกส์ ก่อให้เกิดรายได้มูลค่ามหาศาล รวมถึงเป็นสถานที่ในการแสดงศักยภาพและความมั่นคงของประเทศที่ทัดเทียมนานาประเทศทั่วโลก จึงนับว่าท่าอากาศยานมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนและสร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือน โดยทุกประเทศต่างก็ตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาท่าอากาศยาน ที่นอกจากมีความทันสมัยและมีความสวยงามโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมแล้ว ยังจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการสร้างความปลอดภัยต่อชีวิต ทรัพย์สิน และระบบปฏิบัติการทั้งภายในและภายนอกอาคาร

Kumwell ส่งมอบโซลูชั่น

ส่งมอบความปลอดภัยและลดผลกระทบจากฟ้าผ่า โซลูชัน การออกแบบระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับท่าอากาศยาน เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบระบบป้องกันฟ้าผ่าให้เหมาะสมกับท่าอากาศยาน

การออกแบบระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับอาคารภายในท่าอากาศยานและการป้องกันอันตรายจากแรงดันสัมผัสด้วย KIC Cable

  • สิ่งปลูกสร้างภายในท่าอากาศยาน เช่น อาคารผู้โดยสาร อาคารคลังสินค้า อาคารจอดรถ อาคารซ่อมบำรุงอากาศยาน เป็นต้น จำเป็นต้องมีการติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าเพื่อป้องกันความเสียหายทางกายภาพจากฟ้าผ่าต่อสิ่งปลูกสร้างและอันตรายต่อชีวิตคน
  • แนะนำให้เลือกตัวนำล่อฟ้าที่มีวัสดุเป็นทองแดงชุบดีบุกเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนานและความสวยงามในการติดตั้ง เนื่องจากวัสดุชนิดนี้มีความมันวาวและไม่ทำให้เกิดคราบสนิมเขียว
  • สำหรับการติดตั้งระบบตัวนำลงดินของสิ่งปลูกสร้างเดิมภายในท่าอากาศยานที่จำเป็นต้องยึดเกาะกับโครงสร้างภายนอก มีโอกาสที่คนสามารถสัมผัสหรือเข้าถึงตัวนำลงดินจนอาจได้รับอันตรายจากแรงดันสัมผัสได้ ดังนั้นจึงแนะนำให้ใช้สายตัวนำหุ้มฉนวนชนิดพิเศษ (KIC Cable) ที่ผ่านการทดสอบความคงทนต่อแรงดันอิมพัลส์ฟ้าผ่ารูปคลื่น 1.2/50 ไมโครวินาที ขนาด 100 กิโลโวลต์ เป็นตัวนำลงดินติดตั้งที่ระยะอย่างน้อย 3 เมตร จากระดับพื้นเพื่อป้องกันอันตรายจากแรงดันสัมผัส

การออกแบบระบบรากสายดินโดยคำนึงถึงความยาวประสิทธิผล

  • เมื่อกระแสฟ้าผ่าซึ่งเป็นกระแสที่มีความถี่สูงไหลเข้าสู่รากสายดิน ความต้านทานดินจะมีพฤติกรรมเป็นอิมพีแดนซ์ ดังนั้นการออกแบบรากสายดินสำหรับระบบป้องกันฟ้าผ่าจึงไม่ควรมุ่งเน้นในการทำค่าความต้านทานดิน (Grounding Resistance) ให้ต่ำ แต่ต้องมุ่งเน้นให้มีค่าอิมพัลส์อิมพีแดนซ์ของรากสายดิน (Grounding Impulse Impedance) ที่ต่ำซึ่งสามารถทำได้ด้วยการออกแบบโดยคำนึงถึงความยาวที่เหมาะสมหรือความยาวประสิทธิผล (Effective Length) เป็นหลัก
  • กรณีที่ระบบรากสายดินติดตั้งในพื้นที่ที่มีค่าความต้านทานจำเพาะของดินสูง สามารถใช้สารปรับปรุงค่าความต้านทานดิน (MEG) หุ้มรอบสายตัวนำหรือแท่งหลักดินเพื่อช่วยลดค่าความต้านทานดินได้
  • Kumwell MEG เป็นสารปรับปรุงค่าความต้านทานดินที่ไม่ทำเกิดการกัดกร่อนต่อสายตัวนำหรือแท่งหลักดิน มีความคงทนถาวร เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีค่าความต้านทานจำเพาะต่ำถึง 0.03 โอห์มเมตร ผ่านการทดสอบคุณสมบัติตามมาตรฐาน IEC 62561- 7 (Requirements for earthing enhancing compounds)

การป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้าสถิตด้วยการติดตั้ง 

Static Earth Receptacle
และ Static Earth Reels

  • เมื่อใดก็ตามที่เครื่องบินจอดหรือทำการซ่อมบำรุงหรืออยู่ระหว่างการเติมเชื้อเพลิงจำเป็นต้องมีการต่อลงดินเพื่อป้องกันอันตรายจากการดิสชาร์จของประจุไฟฟ้าสถิตที่อาจทำให้เกิดประกายไฟ (Spark) จนนำไปสู่การระเบิดของเชื้อเพลิงในถังเชื้อเพลิงหรืออาจทำให้ระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์เสียหายได้
  • การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าสถิตสามารถทำได้ด้วยการติดตั้ง Static Earth Receptacle ที่เชื่อมต่อกับแท่งหลักดินหรือระบบต่อลงดินไว้บริเวณลานจอดอากาศยานหรืออาคารซ่อมบำรุงอากาศยานและจัดเตรียม Static Earth Reels ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นสายสลิงมีปากคีบสำหรับใช้เพื่อคายประจุไฟฟ้าสถิตจากเครื่องบินหรือรถเติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้ลงดิน
  • Kumwell Static Earth Reels ผลิตจากสายสลิงชนิดที่สามารถใช้กับงานอากาศยานได้และมีลักษณะเป็น Automatic Reverse

การบริหารจัดการระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบต่อลงดิน และระบบป้องกันเสิร์จด้วยนวัตกรรมอัจฉริยะ Smart Lightning Management System (SLMS)

  • เป็นนวัตกรรมอัจฉริยะที่สามารถมอนิเตอร์สถานะการทำงานโดยรวมของระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบต่อลงดินและระบบป้องกันเสิร์จ โดยสามารถแจ้งเตือนอย่างทันท่วงทีต่อภัยคุกคามจากฟ้าผ่าและสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
  • ข้อมูลทั้งหมดจากชุดอุปกรณ์ตรวจวัดหรือตรวจจับคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของค่าความต้านทานดิน สถานะการทำงานของอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ การเกิดไฟฟ้าสถิตเกินค่าที่กำหนด เป็นต้น จะถูกส่งไปยังระบบควบคุมส่วนกลางหรือผู้ดูแลระบบให้สามารถรับรู้และเข้าไปตรวจสอบหรือทำการแก้ปัญหาได้ทันท่วงที เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตในพื้นที่ปฏิบัติงานและพื้นที่สาธารณะ ลดความเสียหายต่ออาคาร ระบบสื่อสาร รวมถึงระ บบปฏิบัติการต่าง ๆ

Smart Lightning Management System (SLMS)

การป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าต่อผู้ปฏิบัติงานบริเวณพื้นที่โล่งแจ้งภายในท่าอากาศยานด้วยระบบแจ้งเตือนภัยฟ้าผ่าอัจฉริยะ Smart Lightning Warning System

  • ผู้ปฏิบัติงานบริเวณพื้นที่โล่งแจ้งภายในท่าอากาศยาน เช่น เจ้าหน้าที่บริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น (Ground Equipment Services) เจ้าหน้าที่รับส่งอากาศยาน (Aircraft Marshaller) เป็นต้น มีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า ซึ่งการป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าต่อผู้ปฏิบัติงานบริเวณพื้นที่โล่งแจ้งสามารถทำได้ด้วยการติดตั้งระบบแจ้งเตือนภัยฟ้าผ่าอัจฉริยะ
  • Kumwell ได้วิจัยและพัฒนานวัตกรรมระบบแจ้งเตือนภัยฟ้าผ่าอัจฉริยะหรือ Smart Lightning Warning System ซึ่งเป็นระบบที่สามารถแจ้งเตือนเหตุการณ์ฟ้าผ่าล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ข้อมูลฟ้าผ่าจากโครงข่ายระบบตรวจจับฟ้าผ่า (Lightning Detection Sensor Network and Global Data) และข้อมูลการเปลี่ยนแปลงค่าสนามไฟฟ้าในพื้นที่จาก E-Field Sensor มาประมวลผลร่วมกันผ่านซอฟแวร์อัจฉริยะ (Alarm Viewer Software) ตามมาตรฐาน IEC 62793-2020 และ มอก. 3461-2565 เพื่อทำการแจ้งเตือนเหตุการณ์ฟ้าผ่าล่วงหน้า โดยเมื่อมีแนวโน้มว่าจะเกิดฟ้าผ่าอยู่ภายในบริเวณพื้นที่อาคาร ระบบจะทำการแจ้งเตือนเพื่อให้ผู้คนที่ประกอบกิจกรรมอยู่ในบริเวณพื้นที่เปิดโล่งหลบเข้าไปยังพื้นที่ปลอดภัยได้อย่างทันท่วงทีและสามารถแจ้งเตือนให้ผู้คนกลับมาประกอบกิจกรรมได้ทันทีเมื่อเข้าสู่สภาพอากาศปกติ

Total Solution สำหรับรถไฟความเร็วสูง (High Speed Rail)

จากความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และ รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการดำเนินโครงการความร่วมมือพัฒนารถไฟความเร็วสูงระหว่างไทย - จีนเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพฯ - หนองคาย และการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย สปป.ลาว และจีน อันเป็นการยกระดับระบบรางครั้งใหญ่ของไทยในรอบหลายสิบปี และยังสอดคล้องกับข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน (Belt and Road Initiative) โดยมุ่งมั่นให้โครงการรถไฟความเร็วสูงนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในภูมิภาค ส่งเสริมการท่องเที่ยว และเชื่อมโยงภาคธุรกิจสู่เมืองรองได้อย่างรวดเร็ว อันเป็นโอกาสครั้งสําคัญในการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดย Kumwell ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ นำทีมวิจัยเข้าศึกษาแบบและคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในระบบ Integrated Earthing System ทั้งหมดของโครงการและได้จัดหา ผลิต ตลอดจนทดสอบคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ด้วยห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้มาตรฐานสากล จนได้รับการอนุมัติให้ใช้วัสดุในโครงการทั้งในส่วนของระบบป้องกันฟ้าผ่า การทำ Shielding ของอาคารและระบบ Integrated Earthing System รวมไปถึงการตรวจวัดค่าความต้านทานดินของระบบ และเป็นผู้อบรมเทคนิคการติดตั้งระบบ Integrated Earthing System ให้กับทุกภาคส่วนของโครงการที่มีความเกี่ยวข้องจนแล้วเสร็จสมบูรณ์

Integrated Earthing System สำหรับรถไฟความเร็วสูง

  • การออกแบบระบบต่อลงดินสำหรับรถไฟความเร็วสูงจะใช้รูปแบบ Integrated Earthing System ที่มีการติดตั้งสายตัวนำระบบต่อลงดิน (Runthrough Earthing Cable) ขนานไปกับสองฝั่งของรางรถไฟตลอดเส้นทาง
  • การต่อลงดินของระบบอื่น ๆ เช่น เสาของระบบการจ่ายไฟเหนือตู้ขบวนรถ (OCS Pole) โครงสร้างโลหะหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ติดตั้งอยู่ภายในระยะ 5 เมตร จาก OCS เป็นต้น จะต้องเชื่อมต่อเข้ากับระบบ Integrated Earthing System
  • ระบบต่อลงดินเป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อความปลอดภัยและเสถียรภาพของระบบการเดินรถ ซึ่งการชำรุดหรือสูญหายของสายตัวนำบริเวณจุดต่อใด ๆ อาจส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าจนทำให้ระบบการเดินรถขัดข้องได้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องทางไฟฟ้าและความแข็งแรงของจุดต่อต่างๆ จึงแนะนำให้ใช้วิธีการเชื่อมความร้อน (Exothermic Welding) หรือใช้อุปกรณ์ C-Clamp Connector ที่ผ่านการทดสอบคุณสมบัติตามมาตรฐาน IEC 62561-1 (Requirements for Connection Components) และได้รับใบรับรองคุณภาพ UL Listed ในการเชื่อมต่อระหว่างสาย Runthrough Earthing Cable
  • Kumwell ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ควบคุมงานระบบ Integrated Earthing System ของโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการตรวจวัดค่าความต้านทานดินบริเวณฐานรากของสะพานยกระดับทุกจุด คานด้านบนของสะพานยกระดับทุกจุดและบริเวณสาย Runthrough Earthing Cable พร้อมทั้งจัดทำรายงานผลการทดสอบเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของโครงการให้เกิดความปลอดภัยและมั่นคงของระบบ

การทำ Shielding สำหรับอาคาร Signal เพื่อป้องกันการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า

  • การรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Interference, EMI) และความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Compatibility, EMC) ส่งผลต่อการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในระบบการควบคุมที่สำคัญสำหรับรถไฟความเร็วสูง
  • โครงการรถไฟความเร็วสูงมีการออกแบบอาคาร Signal ในลักษณะเป็นกรงฟาราเดย์ (Faraday Cage) โดยการนำเอาแท่งตัวนำหรือโลหะต่อเชื่อมเข้าด้วยกันในลักษณะเป็นตาข่ายล้อมรอบอาคารเพื่อทำหน้าที่เป็น Shielding ในการป้องกันสัญญาณรบกวนและการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า (EMI) จากภายนอกเข้ามาสู่อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในอาคาร
  • วัสดุตัวนำที่ใช้ในการทำ Shielding สำหรับอาคาร Signal จะใช้วัสดุชนิดเหล็กชุบสังกะสีและอลูมิเนียมที่ให้ประสิทธิภาพ Shielding Effectiveness ตามมาตรฐาน IEC 61000-5-7 โดยรูปแบบของตัวนำที่ใช้จะเป็นแบบกลมตันที่สามารถดัดโค้งได้หลายทิศทาง ติดตั้งได้ง่ายและผ่านการทดสอบคุณสมบัติตามมาตรฐาน IEC 62561-2 (Requirements for Conductors and Earth Electrode)
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ