Energy

พลังงาน

อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่นำน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ มาผ่านกระบวนการต่าง ๆ นำไปสู่การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านเชื้อเพลิงและพลังงาน ประกอบด้วย การสกัดก๊าซธรรมชาติ การกลั่นปิโตรเลียม การขนส่งเชื้อเพลิง สถานีบริการน้ำมัน รวมไปถึงยังมีผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีหลายชนิด เช่น เม็ดพลาสติก ใยสังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ สารเคลือบผิวและกาว เป็นต้น ที่ถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบพื้นฐานของอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องอุปโภคบริโภคและวัสดุก่อสร้าง ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตและเศรษฐกิจโลก และในอนาคต อัตราความต้องการต่อพลังงานเหล่านี้ก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะยังมีบทบาทสำคัญไปในอีกหลายทศวรรษ ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้การทำงานของระบบอุตสาหกรรมนี้ต้องหยุดชะงัก ส่งผลกระทบเชื่อมโยงต่ออุตสาหกรรมอื่น ๆ ของประเทศ จะนำมาสู่ความเสียหายอันประเมินค่าไม่ได้

ฉะนั้นแล้ว ภัยจากแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากธรรมชาติและการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น ฟ้าผ่า ไฟฟ้าสถิต และจากมนุษย์สร้างขึ้น จึงเป็นความเสี่ยงที่ต้องมีมาตการและแผนงานในการป้องกัน ตลอดจนการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ระบบอุตสาหกรรมคงไว้ซึ่งการทำงานอย่างต่อเนื่องและเกิดความปลอดภัยสูงสุด

Kumwell ส่งมอบโซลูชั่น

EMC for Unplanned Shutdown ในการออกแบบเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายจากการหยุดการทำงานฉุกเฉินที่ไม่เป็นไปตามแผน

Total Solution EMC for Unplanned Shutdown

  • Kumwell EMC Specialties เป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Compatibility: EMC) ด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ โดยให้บริการแบบครบวงจรดังนี้

1. EMC Environmental Impact Assessment (EIA)

2. EMC Management

3. EMC Consultancy

  • EMC-Environmental Impact Assessment (EIA) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะต้องดำเนินการเป็นอันดับแรกก่อนที่จะวางแผนออกแบบกิจการต่าง ๆ เช่น การสร้างโรงงานอุตสาหกรรม โรงแยกก๊าซ ท่อส่งก๊าซ เป็นต้น โดยในขั้นตอนการจัดหาพื้นที่ จะต้องมีการสำรวจสภาพทางภูมิศาสตร์และทางกายภาพของพื้นที่โครงการและพื้นที่ข้างเคียง เพื่อจัดเตรียมความต้องการด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (EMC Requirement) ที่ก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้คน ทรัพย์สินและระบบ รวมถึงทำให้โครงการได้รับการออกแบบที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลและลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
  • EMC Management เป็นการบริหารจัดการด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้าที่จะต้องนำมาพิจารณา วิเคราะห์ และวางแผนร่วมกันทั้งวิศวกร สถาปนิก ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา ช่างเทคนิค ผู้จัดการโครงการและเจ้าของโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เครื่องมือหรือระบบทำงานได้อย่างดีภายใต้สภาวะแวดล้อมทางแม่เหล็กไฟฟ้า โดยไม่ก่อให้เกิดการรบกวนหรือเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้คน ตลอดจนทำให้เกิดความปลอดภัยและคงไว้ซึ่งเสถียรภาพในการทำงานอย่างต่อเนื่อง หลีกเลี่ยงการหยุดการทำงานฉุกเฉินที่ไม่เป็นไปตามแผน
  • EMC Consultancy การให้บริการคำปรึกษาด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้าโดยทีมผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ

Total Solution สำหรับคลังน้ำมัน

คลังน้ำมัน สิ่งปลูกสร้าง หรือถังเก็บสารไวไฟขนาดใหญ่ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องติดตั้งระบบป้องกัน เนื่องจากผลของฟ้าผ่า ณ จุดใด ๆ อาจทำให้เกิดประกาย (Spark) จนนำไปสู่การระเบิดของเชื้อเพลิงหรือการเกิดเพลิงไหม้ได้

การป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าสำหรับคลังน้ำมัน

  • การติดตั้งตัวนำล่อฟ้า ควรติดตั้งให้อยู่นอกเขตพื้นที่อันตราย (Hazardous area) ประเภทที่ 1 ซึ่งเป็นบริเวณที่สามารถพบก๊าซหรือไอจากสารไวไฟที่มีความเข้มข้นในอากาศ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากการเกิดประกาย (Spark) ที่จุดปลายแท่งตัวนำล่อฟ้ากรณีเกิดฟ้าผ่า โดยในการติดตั้งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การติดตั้งตัวนำล่อฟ้าแบบแยกอิสระและการติดตั้งตัวนำล่อฟ้าแบบยึดเข้ากับโครงสร้างของถังน้ำมันโดยตรง


  • การติดตั้งตัวนำล่อฟ้าแบบแยกอิสระ เป็นการติดตั้งที่ทางเดินของกระแสฟ้าผ่าไม่สัมผัสกับสิ่งปลูกสร้างที่จะป้องกัน ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้ตัวนำล่อฟ้าแบบเสาสูง (Lightning Pole) ติดตั้งโดยเว้นระยะห่างระหว่าง Lightning Pole กับโครงสร้างถังน้ำมันอย่างน้อยเท่ากับระยะแยก s ที่ได้จากการคำนวณตามมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า IEC 62305-3
  • การติดตั้งตัวนำล่อฟ้าแบบยึดเข้ากับโครงสร้างของถังน้ำมันโดยตรง ควรพิจารณาให้จุดปลายสุดของเสาตัวนำล่อฟ้าอยู่นอกเขตพื้นที่อันตราย (Hazardous area) ประเภทที่ 1
  • Self-Standing Lightning Pole ออกแบบให้มีขนาดเล็กกว่าเสาสูงทั่วไป, น้ำหนักเบา, ขนย้ายสะดวก, ติดตั้งง่าย, มีความแข็งแรง ทนแรงลมได้มากถึง 160 km/hr. (Wind Load Tested)

การออกแบบระบบตัวนำลงดินสำหรับถังเก็บน้ำมัน

  • การออกแบบระบบตัวนำลงดินสำหรับถังเก็บน้ำมันหรือถังเก็บสารไวไฟ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ การใช้โครงโลหะของถังเก็บน้ำมันเป็นตัวนำลงดินโดยธรรมชาติและการติดตั้งระบบตัวนำลงดินเพิ่มเติม


  • ถังเก็บน้ำมันโลหะที่มีความต่อเนื่องทางไฟฟ้าระหว่างส่วนต่าง ๆ และมีความหนาไม่น้อยกว่า 5 มิลลิเมตร (ชนิดเหล็กกล้า) หรือไม่น้อยกว่า 7 มิลลิเมตร (ชนิดอะลูมิเนียม) สามารถใช้เป็นตัวนำลงดินโดยธรรมชาติได้ และ ให้ติดตั้งอุปกรณ์ Earth Boss เชื่อมเข้ากับถังโลหะโดยตรงเพื่อใช้เป็นจุดต่อสายตัวนำระบบรากสายดิน
  • ถังเก็บน้ำมันโลหะที่มีความหนาไม่เพียงพอหรือถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเก่าที่ไม่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ใด ๆ เข้ากับโครงโลหะของถังโดยตรงได้ ต้องมีการติดตั้งระบบตัวนำลงดินเพิ่มเติม โดยแนะนำให้ใช้สายตัวนำลงดินชนิดหุ้มฉนวนพิเศษ KHV Cable ที่สามารถชดเชยระยะแยกเพื่อความปลอดภัยจากฟ้าผ่าได้
  • Earth Boss ผลิตจากเหล็กกล้าไร้สนิมและผ่านการทดสอบคุณสมบัติตามมาตรฐาน IEC 62561-1 (Requirements for Connection Components)
  • สายตัวนำลงดินชนิดหุ้มฉนวนพิเศษ KHV Cable ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการป้องกันแรงดันฟ้าผ่าตามมาตรฐาน IEC 62561-8 (Requirements for Components for Isolated LPS) *** เพิ่มรายละเอียด KHV

การตรวจวัดค่าความต้านทานดินแบบอัตโนมัติด้วย Smart Ground Resistance Monitoring

  • การติดตั้งตัวนำล่อฟ้า ควรติดตั้งให้อยู่นอกเขตพื้นที่อันตราย (Hazardous area) ประเภทที่ 1 ซึ่งเป็นบริเวณที่สามารถพบก๊าซหรือไอจากสารไวไฟที่มีความเข้มข้นในอากาศ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากการเกิดประกาย (Spark) ที่จุดปลายแท่งตัวนำล่อฟ้ากรณีเกิดฟ้าผ่า โดยในการติดตั้งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การติดตั้งตัวนำล่อฟ้าแบบแยกอิสระและการติดตั้งตัวนำล่อฟ้าแบบยึดเข้ากับโครงสร้างของถังน้ำมันโดยตรง
  • การติดตั้งตัวนำล่อฟ้าแบบแยกอิสระ เป็นการติดตั้งที่ทางเดินของกระแสฟ้าผ่าไม่สัมผัสกับสิ่งปลูกสร้างที่จะป้องกัน ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการใช้ตัวนำล่อฟ้าแบบเสาสูง (Lightning Pole) ติดตั้งโดยเว้นระยะห่างระหว่าง Lightning Pole กับโครงสร้างถังน้ำมันอย่างน้อยเท่ากับระยะแยก s ที่ได้จากการคำนวณตามมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า IEC 62305-3
  • การติดตั้งตัวนำล่อฟ้าแบบยึดเข้ากับโครงสร้างของถังน้ำมันโดยตรง ควรพิจารณาให้จุดปลายสุดของเสาตัวนำล่อฟ้าอยู่นอกเขตพื้นที่อันตราย (Hazardous area) ประเภทที่ 1
  • Self-Standing Lightning Pole ออกแบบให้มีขนาดเล็กกว่าเสาสูงทั่วไป, น้ำหนักเบา, ขนย้ายสะดวก, ติดตั้งง่าย, มีความแข็งแรง ทนแรงลมได้มากถึง 160 km/hr. (Wind Load Tested)

การป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้าสถิตด้วยการติดตั้ง

Static Earth Reels Monitor and Remote Interlock Controlled

  • บริเวณที่มีการถ่ายเทน้ำมันภายในสถานประกอบกิจการน้ำมัน ซึ่งรวมถึงสถานีบริการน้ำมัน คลังน้ำมัน และสถานที่ที่มีการรับหรือจ่ายน้ำมันโดยระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ จะต้องมีมาตรการในการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าสถิต เนื่องจากการไหลของของเหลวไวไฟภายในท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถสร้างและสะสมประจุไฟฟ้าสถิตได้ และเมื่อเกิดการดิสชาร์จของประจุไฟฟ้าสถิต อาจทำให้เกิดประกายไฟ (Spark) จนอาจนำไปสู่การระเบิดหรือเกิดเพลิงไหม้ได้


  • การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าสถิต สามารถทำได้ด้วยการติดตั้ง Static Earth Reels Monitor and Remote Interlock Controlled เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้เพื่อคายประจุไฟฟ้าสถิตลงดิน มีคุณสมบัติเป็นอุปกรณ์ชนิดกันระเบิด (Explosion Proof Enclosure) มีไฟแสดงสถานะการทำงานเมื่อการเชื่อมต่อมีความปลอดภัยหรือเมื่อการเชื่อมต่อกับระบบกราวด์ล้มเหลว และมี Contact Voltage Free (NO-NC-C) สำหรับเชื่อมต่อแบบ Interlock กับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เชื่อมต่อกับวาล์วที่ใช้ควบคุมการจ่ายน้ำมัน เพื่อป้องกันอันตรายขณะจ่ายน้ำมัน กรณีที่รถขนถ่ายน้ำมันไม่ได้ทำการต่อลงดินหรือกรณีที่หน้าสัมผัสบริเวณปากคีบ (Ground Clamp) กับรถขนถ่ายน้ำมันมีการเชื่อมต่อที่ไม่ดี เป็นต้น

การแจ้งเตือนภัยคุกคามจากฟ้าผ่าและสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสำหรับสถานีควบคุมก๊าซ ด้วยระบบการจัดการป้องกันฟ้าผ่าอัจฉริยะ (Smart Lightning Management System)

  • โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก จากสถานีควบคุมความดันก๊าซฯ ราชบุรี-วังน้อยที่ 6 (RA6) จังหวัดนนทบุรี เชื่อมต่อกับระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติเดิมในจังหวัดราชบุรี สำหรับผันก๊าซธรรมชาติจากระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันออกไปยังฝั่งตะวันตก เพื่อสร้างเสถียรภาพให้ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของประเทศ พร้อมทั้งรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติจากภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ ภาคการผลิตไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่ง
  • บ.คัมเวล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบและติดตั้งระบบการจัดการป้องกันฟ้าผ่าอัจฉริยะ สำหรับสถานีควบคุมก๊าซ RA6 และ BV5.15 เช่น มอนิเตอร์ความต่อเนื่องของระบบกราวด์, มอนิเตอร์ตรวจนับจำนวนและบันทึกเหตุการณ์เสิร์จฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นกับระบบป้องกันฟ้าผ่า, มอนิเตอร์ตรวจนับจำนวนและบันทึกวัน/เวลา ของเหตุการณ์เสิร์จที่เข้ามาในระบบไฟฟ้า, มอนิเตอร์ตรวจวัดกระแสไฟฟ้ารั่ว เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อความเสียหายจากภัยคุกคามจากฟ้าผ่าและสนามแม่เหล็กไฟฟ้าต่าง ๆ และส่งมอบความมั่นคง ความคุ้มค่า และความปลอดภัย ให้กับผู้ที่ปฏิบัติงานไปจนถึงโครงสร้างพื้นฐาน
  • ระบบการจัดการป้องกันฟ้าผ่าอัจฉริยะ (Smart Lightning Management System) เป็นนวัตกรรมอัจฉริยะที่สามารถมอนิเตอร์สถานะการทำงานโดยรวมของระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบต่อลงดินและระบบป้องกันเสิร์จ สามารถแจ้งเตือนอย่างทันท่วงทีต่อภัยคุกคามจากฟ้าผ่าและสนามแม่เหล็กไฟฟ้า โดยข้อมูลทั้งหมดจากชุดอุปกรณ์ตรวจวัดหรือตรวจจับคุณสมบัติต่าง ๆ จะถูกส่งไปยังระบบควบคุมส่วนกลางหรือผู้ดูแลระบบให้สามารถรับรู้และเข้าไปตรวจสอบหรือทำการแก้ปัญหาได้ทันท่วงที

Total Solution สำหรับสถานีบริการน้ำมัน

สถานีบริการน้ำมันคือสถานที่ที่ใช้ในการเก็บรักษา ตลอดถึงการบรรจุ ขนถ่าย และจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้บริการแก่ยานพาหนะ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่า เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสิ่งปลูกสร้างและชีวิตผู้คน โดยระบบป้องกันฟ้าผ่าควรติดตั้งบริเวณอาคารแท่นจ่ายน้ำมัน อาคารบริการต่าง ๆ และป้ายเครื่องหมายการค้า

การออกแบบระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับสถานีบริการน้ำมัน

  • แนะนำให้ใช้วัสดุทองแดงหรือทองแดงชุบดีบุกเป็น ตัวนำล่อฟ้าและตัวนำระบบรากสายดินภายในสถานีบริการน้ำมัน โดยควรเลือกใช้รูปแบบกลมตันหรือเทปตันเนื่องจากทนการกัดกร่อนได้ดีกว่าแบบตีเกลียว และตัวนำที่ใช้จะต้องผ่านการทดสอบคุณสมบัติตามมาตรฐาน IEC 62561-2 (Requirements for Conductors and Earth Electrodes) เพื่อให้มั่นใจได้ว่า วัสดุตัวนำสามารถทนการกัดกร่อนได้ดี มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และสามารถนำกระแสฟ้าผ่าได้ดี


  • ในกรณีที่ต้องติดตั้งระบบตัวนำลงดินแบบเปิดโล่ง (Exposed Down Conductor) ซึ่งมีโอกาสที่ผู้คนสามารถสัมผัสหรือเข้าถึงได้ ควรใช้สายตัวนำชนิดหุ้มฉนวนพิเศษ Kumwell Insulating Cable (KIC) เป็นตัวนำลงดิน เป็นไปตามมาตรการป้องกันอันตรายจากแรงดันสัมผัสตามมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า IEC 62305-3 และผ่านการทดสอบความคงทนของฉนวนต่อแรงดันอิมพัลส์ฟ้าผ่าตามมาตรฐาน IEC 62561-2 ทั้งในสภาวะปกติและสภาวะที่มีความชื้นหรือเปียกน้ำ (จำลองสภาวะการใช้งานในสภาพเปียกฝน)
  • ระบบรากสายดินสำหรับสถานีบริการน้ำมันหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีความเสี่ยงต่อการระเบิด ควรเป็นรากสายดินรูปแบบวงแหวน (Ground Loop) เพื่อกระจายกระแสฟ้าผ่าลงสู่ดิน และทำให้ Ground Potential Rise ลดลง

การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าสถิตภายในสถานีบริการน้ำมันด้วยการติดตั้ง Static Earth Reels

  • บริเวณที่มีการถ่ายเทน้ำมันภายในสถานีบริการน้ำมัน จำเป็นต้องมีมาตรการในการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าสถิต เนื่องจากการดิสชาร์จของประจุไฟฟ้าสถิต อาจทำให้เกิดประกายไฟ (Spark) จนอาจนำไปสู่การระเบิดของเชื้อเพลิงหรือเกิดเพลิงไหม้ได้


  • การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าสถิต สามารถทำได้ด้วยการถ่ายเทประจุไฟฟ้าสถิตลงดิน โดยการใช้อุปกรณ์ Static Earth Reels ที่ปลายด้านหนึ่งของอุปกรณ์เชื่อมต่อกับระบบกราวด์ ส่วนปลายอีกด้านมีลักษณะเป็นสายสลิงแบบ Automatic Reverse ที่มีปากคีบ (Ground Clamp) สำหรับใช้คีบเพื่อคายประจุไฟฟ้าสถิตจากถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงหรือรถขนถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้ลงดิน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ